10.10.2009

Nipan Oranniwesna - "Narrative Floor"




"Narrative floor" ผลงานระหว่างติดตั้งหนึ่งในสามชิ้นในนิทรรศการเดี่ยว "Being.....at homE" ที่จะเปิดแสดงที่ osage kwun tong (Hong Kong) ในวันที่ 21 ส.ค.- 21 ต.ค.2552 ...ผลงานประกอบด้วย wooden module จำนวน 25 ชิ้น (ขนาดแต่ละmodule: 120x120x10 cm) บนพื้นไม้เจาะคว้านเป็นรูปหยดน้ำแล้วติดภาพถ่าย+เรซินที่มีผิวนูนใส...คนดู ถอดรองเท้าเดิน(ดู)บนผลงาน....






10.03.2009

I am a Thai Graphic Designer

หลายคนคงตั้งคำถามว่าการที่คนกลุ่มหนึ่งออกมาบอกต่อสังคมว่า พวกเขาเป็นใครนั้น…พวกเขาทำไปเพื่ออะไร แล้วจะมาบอกกล่าวกันทำไม ทั้งทั้งที่คนจำนวนไม่น้อยก็รู้อยู่แล้วว่ามีอาชีพนี้อยู่ในสังคม…โครงการนี้เริ่มต้นจากสังคมเล็กๆ ในสำนักงานออกแบบแห่งหนึ่ง ที่ชักชวนกันในวงแคบๆแสดงสถานะบางอย่างออกไปบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์ ด้วยมุมมองเล็กๆ ที่เกิดมาจากการประกอบวิชาชีพและแวดวงการเรียนการสอน เรามองร่วมกันว่า นอกเหนือจากบทบาทที่ให้บริการงานออกแบบเพื่อเลี้ยงชีพอยู่นั้น ยังมีพื้นที่อื่นๆ ในสังคมที่นักออกแบบกราฟิกสามารถมีส่วนร่วมและสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่นั้นๆ ได้อีก… บ่อยครั้งที่เรารับหน้าที่เป็นผู้คอยรับใช้ในการนำเสนอข้อสรุปจากนโยบายบริหาร จนทำให้เรายึดถือเป็นสถานะที่แท้จริงของเรา แล้วก็บ่อยครั้งที่เราพบว่าเรามักจะถูก จำกัดคุณภาพของผลงานจากข้อสรุปหรือพวกเราเรียกมันให้ดูดีว่า ‘โจทย์’ จึงทำให้หลายครั้งที่เราคิดว่าคงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ‘โจทย์’นั้นๆ… ดังนั้นการชูป้ายของเราในกลุ่มเล็กๆผ่านสังคมออนไลน์ จึงเป็นเพียงแค่การแสดงออก ไปว่า“ ‘ฉันคือใคร’ ‘ฉันทำอาชีพอะไร’ และ
‘ฉันมีท่าทีอย่างไรกับสิ่งที่ฉันทำ’ ” โดยคาดหวังการตอบสนองเพียงแค่ให้คนที่เห็นสามารถรับรู้ถึงการดำรงอยู่และมีท่าทีกับมัน ดังนั้นท่าทีของแต่ละคนที่พบเห็นการแสดงออกของพวกเราย่อมแตกต่างระดับกัน ตั้งแต่การมองผ่านเลย การมองเป็นเรื่องสนุกขำขันการตั้งคำถาม และการให้ร่วมมือ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการพบเห็นการแสดงออกเหล่านี้ในเบื้องต้นผ่านคนไม่กี่คน ย่อมมีความแตกต่างทั้งเนื้อหาและพ
ลังในการสื่อสารเมื่อเทียบกับความร่วมมือจำนวนมากผ่านเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา

ผลงานที่ส่งเข้าร่วมมีมากกว่า 1,000 ผลงาน ท่าทีต่างๆ ที่ตอบสนองเข้ามานั้นหลากหลายมากจน “เรา” ในฐานะกลุ่มคนเริ่มต้นก็ไม่สามารถตอบแทนทุกๆ คนได้ว่าแต่ละคนต้องการนำเสนออะไร เรารู้แต่เพียงว่าการเข้าร่วมที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น
ทำให้ความหมายนั้นกว้างและคลุมเครือตามไปด้วย กิจกรรมนี้กำลังเติบโตด้วยตัวมันเองและมีพลังอย่างมากในการสื่อสารที่เป็นปัจเจกภายใต้เงื่อนไขร่วมกัน ถ้าลองวิเคราะห์ผลงานทั้งหมดเราอาจจะพบเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น การแสดงตั
วตนอย่างเข้มแข็งถึงความเป็นนักออกแบบ, การนำเสนอเอกลักษณ์ของกราฟิกแบบไทยและแบบไทยๆ,การนำเสนอปัญหาหรือข้ออึดอัดในการเป็นนักออกแบบกราฟิก, การแสดงจุดยืนในการเป็นนักออกแบบ, การแสดงความสัมพันธ์กับนักออกแบบหรืองานออกแบบ,การแสดงความฝันหรือ จุดมุ่งหมายที่จะประกอบอาชีพ, การแสดงบุคลิกเฉพาะ,การมุ่งเสนอคุณภาพความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบ,การแสดงบทบาทผู้ชื่นชมหรือสนับสนุน, การร่วมสนุก ฯลฯ การแสดงออกที่หลากหลายเหล่านี้ จะปรากฏสู่สาธารณะอีกครั้งในรูปแบบ นิทรรศการและเป็นพื้นที่สาธารณะจริงๆ
พื้นที่ในศูนย์การค้าใจกลางเมืองจะมี นักออกแบบกราฟิกพันคนมารวมตัวกันเพื่อนำเสนอว่า“ ‘ฉันคือใคร’ ‘ฉันทำอาชีพอะไร’ และ ‘ฉันมีท่าทีอย่างไรกับสิ่งที่ฉัน
ทำ’ ” ซึ่งเนื้อหาและวิธีการของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป และเมื่อ “สังคม” (รวมนักออกแบบกราฟิกกันเองด้วย)ได้รับรู้แล้วว่า “ ‘เราคือใคร’ ‘เราทำอาชีพอะไร’ และ ‘เรามีท่าทีอย่างไรกับสิ่งที่เราทำ’ ”
จากนั้น ‘สังคม’ จะมีท่าทีอย่างไรกับนักออกแบบกราฟิกและงานออกแบบกราฟิก…เพราะในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม วิชาชีพนี้ทำได้ตั้งแต่ร่วมคิดนโยบายจนถึงการรับใช้ข้อสรุปของนโยบายนั้น ขึ้นอยู่กับว่า… “
สังคมเห็นคุณค่าและศักยภาพหรือไม่?”ถ้าคำตอบคือ “เห็น” ก็จะถามต่อว่า… “สังคมใช้ประโยชน์จากศักยภาพนั้นได้คุ้ม(คุณ)ค่าหรือไม่”
… จากนั้น…คงเป็นเรื่องของเราทุกคน.


In spite of actually knowing what the profession is, someone wonders when a group of people tell the society who they are, for what they do and why they say. This project originally started in an office by communicating within a small group through online public space. As a viewpoint of work and education, we believe there are some spaces where graphic designers can be a part, share their ideas as well as show their ability of art. According to our responsibility for presenting the conclusion of administrative policy, it finally becomes our job status. Therefore, it is often found that our work quality has been limited by the summary or that we call “question.” We think then how good it is, if we have an opportunity to express our opinion to that one. As the result, it is just the way we do through the cyber world in order to show “who I am, what I do and how I appear at it.” We only expected somebody see and feel it, but anyway each person will certainly have different appearance: someone does not be interested in it; someone thinks it is funny; someone looks it with questions; or someone would like to be a part of the project. Definitely, it cannot be denied that the initial manner of people’s expression was not the same both in details and communications, while we compared to loads of interest in the following months.

More of 1,000 pieces of work are so various that the content of project is expanded but unclear. That is as same as the current status of graphic designers then. When we analyzed all works, the variety of contents would be found such as the identity of typical Thai graphic, the self of graphic designers, the problems of being them, their positions, their relation to the others and works, their dreams and objectives, the specific characters, their creation and skills, playing the roles as admirers or supporters, and so on. All pieces of works will be exhibited in the downtown department store on the theme “who I am, what I do and how I appear at it” with the various contents and methods of each person. When “the society” (including graphic designers) knows “who we are, what we do and how we appear at the way we do,” it depends on how “it” reflects the view on the profession and works. As a part of the society, we can form a concept and comply with it. That subjects to how the society views whether value and ability of Thai graphic designers are good enough. If “yes,” the next question will be “ the ability is valuable used, isn’t it?”

– further, it depends on all of us……